หลักการสอน CPA Approach



หลักการสอน CPA Approach


หลักการสอนคณิตศาสตร์แบบ CPA หรือ Singapore Math ถูกใช้สอนเด็กในประเทศสิงคโปร์ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล จนทำให้เด็ก ๆ ชาวสิงคโปร์มีความถนัดทางคณิตศาสตร์สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก จากการจัดลำดับของ PISA เมื่อปีพ.ศ. 2558

การสอนแบบ CPA ช่วยให้เด็กสามารถตีโจทย์คณิตศาสตร์ออกมาเป็นภาพได้ โดยปูพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์มาอย่างเป็นระบบ ซึ่งในระดับสูง แม้แต่สมการ X, Y ที่ดูซับซ้อน เด็กก็สามารถมองเห็นภาพรวมและที่มาที่ไปของโจทย์ นำไปสู่วิธีการแก้ปัญหาได้ในที่สุด

โดยใช้สิ่งของรอบ ๆ ตัว ก็ช่วยให้เขาเข้าใจพื้นฐานเลขได้ไม่ยาก ซึ่งหลักการสอน CPA มีองค์ประกอบดังนี้

จับต้องได้ (Concrete) เนื้อหาที่เราจะสอนควรออกแบบให้จับต้องได้ สมมุติจะสอนการหาร แก่นของการหารคือการแบ่ง เราอาจจะมีโจทย์ให้นักเรียนแบ่งของไปในช่วงต้น ชวนนักเรียนคุยกันว่า แต่ละคนมีวิธีการแบ่งของอย่างไรบ้าง ค่อยๆวางทีละชิ้นไปตามกอง หรือวางมั่วไปก่อนค่อยจัดเรียงทีหลัง เมื่อแน่ใจว่านักเรียนสามารถแบ่งของได้ เข้าใจแก่นของการหารแล้ว จึงนำไปสู่ขั้นต่อไป

เห็นเป็นภาพ (Pictorial) ครูดึงโจทย์ เดิมที่ใช้แบ่งของ แต่คราวนี้ครูจะวาดเป็นภาพแทนของสิ่งนั้น แล้วแสดงการแบ่งภาพสมมุติที่ทำบนกระดาษ การเชื่อมจากสิ่งที่จับต้องได้ ไปสู่ภาพจะเป็นการเตรียมนักเรียนให้พร้อมต่อการไปสู่ขั้นต่อไป ที่มีความเป็นนามธรรมที่สุด เช่น
·       มีแอปเปิ้ล 5 ลูก ก็ให้เขาวาดแอปเปิ้ล 5 ลูก
·       จากนั้นได้เพิ่ม 5 ลูก ก็วาดเพิ่ม
·       กินไป 3 ลูก ก็ขีดฆ่าทิ้ง หรือลบออก

สัญลักษณ์ (Abstract) สุดท้ายครูแทนโจทย์จากรูปภาพ กลับมาเป็นสัญลักษณ์ ถึงตรงนี้ยังไม่ต้องไปถึงตั้งหาร เป็นจุดที่ครูจะต้องเชื่อมโยงจาก ช่วงที่สอนเป็นภาพก่อนหน้านี้ให้มาเป็นสัญลักษณ์ให้ได้ก่อน จนนักเรียน สามารถมองจากสัญลักษณ์แล้วเข้าใจเป็นภาพได้ ครูจึงจะเริ่มให้นักเรียนฝึกฝนคำนวณ เช่น
·       กองแอปเปิ้ล 5 ลูก + กองแอปเปิ้ล 3 ลูก กลายเป็นกองแอปเปิ้ล 8 ลูก
·       กองแอปเปิ้ล 5 ลูก - เน่าเสียไป 3 ลูก เหลือ 2 ลูก
การสอนตัวเลขผ่านสิ่งที่จับต้องได้ ช่วยให้คิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่ใช่การท่องจำ จัดระบบความคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ทำให้เมื่อเข้าสู่การเรียนเลขในระดับที่สูงขึ้น เด็กจะมีความพร้อมและเข้าใจแนวคิดคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้นั่นเอง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน ตรรกศาสตร์ ไปทำไม ?????